เมนู

ที่ใกล้ต้นไม้สะเดาอันนเฬรุยักษ์สิงแล้ว. ได้ยินว่า ต้นสะเดานั้นน่ารื่นรมย์
น่าเลื่อมใส ทำท่าเหมือนเป็นเจ้าใหญ่แห่งต้นไม้มากมาย มีอยู่ในที่ ซึ่งถึง
พร้อมด้วยทางไปมาไม่ไกลเมืองนั้น.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปเมืองเวรัญชา เมื่อจะประทับ
อยู่ในสถานอันสมควร จึงประทับอยู่ ณ ที่ใกล้ คือ ส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดาที่
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ ใกล้เมืองเวรัญชา. หากจะมีคำทักท้วงในข้อนั้นว่า ถ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชาก่อน, คำว่า ที่โคนต้นสะเดาซึ่ง
นเฬรุยักษ์สิงอยู่ อันพระอุบาลีเถระไม่ควรกล่าว ถ้าเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้น
สะเดาซึ่งนเฬรุยักษ์สิงอยู่นั้น, คำว่า ที่เมืองเวรัญชา ท่านก็ไม่ควรกล่าว,
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่อาจเสด็จประทับอยู่ในสองตำบลพร้อม ๆ กัน
โดยสมัยเดียวกันนั้นได้. แต่คำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล
นั้น บัณฑิตไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย, ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า บทว่า
เวรญฺชายํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อเสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา ซึ่งนเฬรุยักษ์สิง ในที่ใกล้
แห่งเมืองเวรัญชา พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เสด็จประทับอยู่ที่โคนต้นสะเดา
ซึ่งนเฬรุยักษ์สิงใกล้เมืองเวรัญชา แม้ในพระบาลีประเทศนี้ เหมือนอย่างฝูงโค
ทั้งหลาย เมื่อเที่ยวไปในที่ใกล้แห่งแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ชนทั้งหลาย
ย่อมกล่าวว่า เที่ยวไปใกล้แม้น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม้น้ำยมุนา ฉะนั้น.

[อธิบายคำว่า เวรญฺชายํ และ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล]


ในคำว่า เวรญฺชายํ วิหรติ นเฬรุปุจิมนฺทมูเล นี้ บัณฑิตพึง
ทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ คำว่า เวรัญชา มีอัน

แสดงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นประโยชน์ . คำว่า นเฬรุปุจิ-
มันทมูล
มีอันแสดงสถานเป็นที่อยู่อันสมควรแก่บรรพชิตเป็นประโยชน์.
ท่านพระอุบาลีเถระแสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการอนุเคราะห์พวก
คฤหัสถ์ ในบรรดาคำระบุทั้งสองนั้น ด้วยคำระบุว่า เวรัญชา แสดงการที่
ทรงอนุเคราะห์บรรพชิต ด้วยคำระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูล.
อนึ่ง แสดงความเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย ด้วยคำ
ระบุต้น, แสดงอุทาหรณ์แห่งอุบาย ในการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะละ
วัตถุกามเสีย ด้วยคำระบุหลัง. หนึ่ง แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประกอบยิ่งด้วยธรรมเทศนา ด้วยคำระบุต้น, แสดงการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
น้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ
ด้วยพระกรุณา ด้วยคำระบุต้น. แสดงการที่ทรงประกอบด้วยพระปัญญา
ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงน้อมพระทัยไป ในอันยัง
หิตสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่เข้าไปติดในการทำหิตสุขแก่สัตว์อื่น ด้วยคำระบุหลัง. แสดงการที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงอยู่สำราญมีการไม่สละสุข ซึ่งประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่อง
หมาย ด้วยคำระบุต้น. แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่สำราญ มีความ
ตามประกอบในอุตริมนุสธรรมเป็นเครื่องหมาย ด้วยคำระบุหลัง. แสดงข้อที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่มนุษย์ทั้งหลาย, ด้วยคำระบุต้น,
แสดงข้อที่พระองค์เป็นผู้มากด้วยอุปการะแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำระบุหลัง.
แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลก
ด้วยคำระบุต้น, แสดงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เข้าไปติดอยู่ในโลก ด้วยคำ
ระบุหลัง. ด้วยคำระบุต้น แสดงการที่พระองค์ทรงยังประโยชน์เป็นที่เสด็จ

อุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเอก
เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า,* ด้วยคำระบุหลัง แสดงความอยู่สมควรแก่สถานที่เสด็จอุบัติ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิ์มณฑล ด้วย
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ ของพระองค์ ในป่าทั้งนั้น.

[อธิบายคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ต่อไป
บทว่า มหตา มีความว่า ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีคุณใหญ่บ้าง ใหญ่ด้วยความ
เป็นผู้มีจำนวนมากบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย
บ้าง เพระเหตุว่า ภิกษุผู้มีคุณล้าหลัง ในภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นพระโสดาบัน
บุคคล ได้เป็นใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง เพราะมีจำนวนห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะผู้
ทัดเทียมกันด้วยคุณ กล่าวคือความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน. บทว่า สทฺธึ
คือโดยความเป็นพวกเดียวกัน. คำว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ มีวิเคราะห์ว่า
จำนวน 5 เป็นประมาณของภิกษุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญจมัตตา.
ประมาณท่านเรียกว่า มัตตา. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความแม้ใน
บาลีประเทศนี้อย่างนี้ว่า ร้อยแห่งภิกษุเหล่านี้ มีจำนวน 5 คือมีประมาณ 5
เหมือนอย่างเมื่อท่านกล่าวว่า โภชเน มตฺตญฺญู ย่อมมีอรรถว่า รู้จำนวน
* องฺ. ติก. 20/28.